อีกปัญหาหนึ่งที่โรงงานอุตสาหกรรมมักจะพบกันบ่อยคือ ระบบไฟฟ้า ทั้งในเรื่องของ ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระโชก รวมไปถึงสัญญาณรบกวน ส่งผลกระทบต่อระบบเครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์ในโรงงาน ที่มักมีความไวต่อความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าได้สูงมาก ซึ่งความรุนแรงนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่กระทบเพียงเล็กน้อยโดยไม่ส่งผลใด ๆ จนถึงสร้างความเสียหายต่อกระบวนการผลิต ส่งผลต่อระบบธุรกิจ และ การชำรุดเสียหายของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในโรงงาน หรืออาจรุนแรงจนก่อให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน
เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว จึงต้องมีการติดตั้ง Surge Protection หรือ ระบบกันไฟกระชาก โดยสามารถเรียกได้หลายชื่อ Surge Protection Device (SPD),Surge Suppression Equipment (SSE) หรือ Transient Votage Surge Suppressor (TVSS)

ไฟตก (Voltage dip)
ไฟตก คือ การที่แรงดันไฟฟ้าลดต่ำลงจากปกติ ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้เพียงพอ ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งสังเกตได้จากไฟฟ้ามีอาการติด ๆ ดับ ๆ โดยสาเหตุไฟตกเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น
- มีการใช้ไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์หมุนรอบสูง
- สภาพอากาศ เช่น ฝนตกหนัก มีพายุ
- กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน
- ตัวนำไฟฟ้าภายในโรงงานมีปัญหา เข่น ชำรุด หรือ ไฟช็อต
ทำให้แรงดันไฟฟ้าในสายส่งของการไฟฟ้าลดต่ำลง ส่งผลให้การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หยุดชะงักในการทำงาน และอาจเกิดความเสียหายได้ และหากเกิดขึ้นบ่อย ๆ จะทำทำให้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าลดลงและเสื่อมเร็วขึ้น โดยเฉพาะ มอเตอร์ของอุปกรณ์ไฟฟ้า
วิธีการแก้ปัญหาระบบไฟฟ้าตก: ติดตั้งอุปกรณ์กันไฟตก Voltage Protection หรือ ติดตั้งเครื่องรักษาระดับแรงดัน Automatic Voltage Stabilizer เพื่อช่วยในการคอยปรับแรงดันไฟฟ้าให้มีความสม่ำเสมอ ป้องกันความเสียหายเครื่องไฟฟ้าภายในโรงงาน โดยข้อดีของการใช้เครื่องสเตบิไบเซอร์ คือหมดปัญหาเรื่องไฟตก และยังมีประสิทธิภาพสูง สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง โดยไม่ต้องมีคนคอยเฝ้าเปิด – ปิด เครื่อง

ไฟดับ (power outage)
ไฟดับ คือ การที่กระแสไฟฟ้าหยุดไหล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เพียงเฉพาะจุดหรืออาจเกิดเป็นวงกว้าง โดยสาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากไฟฟ้าลัดวงจรในสายส่งกระแสไฟการไฟฟ้าฯ หรือเกิดปัญหากับสายส่งการไฟฟ้าฯ เช่น หม้อแปลงระเบิด เสาไฟฟ้าล้ม สายส่งไฟชำรุด เป็นต้น ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายไฟจากการไฟฟ้าได้ ทำให้ระบบเครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ หยุดชะงัก เกิดความเสียหายในกระบวนการผลิต
วิธีการแก้ปัญหาไฟฟ้าดับ: ควรติดตั้งเครื่องสำรองไฟฟ้า UPS หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สำหรับในการสำรองไฟเมื่อเกิดเหตุไฟดับโดยไม่ได้คาดคิด

ไฟกระชาก (Surge)
ไฟกระชาก คือ แรงดันไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างกระทันหันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจมีสาเหตุได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้
- สภาพอากาศแปรปรวน เช่น ฝนตกหนัก ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง ฯลฯ
- ระบบไฟฟ้ามีความผิดปกติ เช่น สายส่งการไฟฟ้าหยุดทำงานแล้วกลับมาทำงานใหม่อย่างกระทันหัน
- การเดินสายไฟไม่ได้มาตรฐาน หรือติดตั้งโดยผู้ที่ไม่มีความชำนาญ
- การเปิด – ปิด เครื่องไฟฟ้าหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันหรือไล่เลี่ยกัน ทำให้มีการใช้กระแสไฟจำนวนมากเกินไป
ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องจักรภายโรงงาน ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางชนิดเกิดชำรุดเสียหาย หรืออาจมีอายุการใช้งานสั้นลง
วิธีการแก้ปัญหาไฟกระชาก: ติดตั้ง Surge Protection หรืออุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก Schneider และติดตั้งสายดิน ซึ่งหาซื้อได้จากแหล่งขายอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยจะต้องติดตั้งถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของอุปกรณ์ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

ไฟเกิน (Overload)
ไฟเกิน คือ การที่มีแรงดันไฟฟ้าไหลมารวมกันมากเกินไปในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยมีสาเหตุจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินไฟมากเกินไป และเมื่ออุปกรณ์เหล่านั้นหยุดทำงาน แรงดันไฟฟ้าส่วนที่เหลืออยู่ในมอเตอร์จะไหลกลับเข้าสู่ระบบไฟฟ้า ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าสูงเกินกว่าที่กำหนดไว้ในชั่วขณะหนึ่ง ส่งผลต่อคุณภาพการทำงานของอุปกรณ์ และเสื่อมประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว
วิธีการแก้ปัญหากระแสไฟเกิน: ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก ไฟตก Surge Protection หรือ Voltage Stabilizer

ระบบสัญญาณรบกวน (Noise)
ปัญหาระบบสัญญาณรบกวน คือ การถูกรบกวนด้วยสัญญาณที่มาจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า EMI (Electro Magnetic Interference) หรือจากสัญญาณวิทยุรบกวน RFI (Radio Frequency Interference) ซึ่งมีสาเหตุเกิดได้ทั้งจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า หรือจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเปิด-ปิด สวิตซ์อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ เครื่องส่งวิทยุ เป็นต้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีความผิดพลาดหรือไม่เสถียร จนก่อให้เกิดความเสียหายในกระบวนการผลิตตามมา
วิธีป้องกันสัญญาณรบกวน: ติดตั้งตัวกรองสัญญาณแหล่งจ่ายไฟ EMI / RFI Filter
และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ สายดิน (Earthing System) ที่ติดตั้งมากับระบบไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อการใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เผื่อกรณีมีไฟรั่วลงบนเครื่องใช้ไฟฟ้า กระแสไฟที่รั่วออกมาจะใช้ สายดิน สำหรับเป็นเส้นทางไหลลงดิน แทนที่จะไหลผ่านร่างกายมนุษย์ หากเผลอไปสัมผัส เป็นการป้องกันความเสี่ยงต่อชีวิตของพนักงานและเจ้าหน้าที่ในโรงงาน
สรุป
อย่างไรก็ตามการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อป้องกันหรือแก้ปัญหาระบบไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องเลือกให้ถูกกับลักษณะการทำงานของเครื่องจักรและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ภายในโรงงานทั้งหมด เพื่อให้มีกระบวนการผลิตและการทำงานของอุปกรณ์มีประสิทธิภาพสูงสุด และมีความปลอดภัยต่อการใช้งาน ด้วยการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การใช้เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า 3 เฟส หรือ Surge protection 3 เฟส Schneider เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มากกว่าระบบไฟฟ้าในบ้านและอาคารทั่วไป