ปัญหาที่ทุกบ้านมีเหมือนกัน คงหนีไม่พ้นคือ ขยะเศษอาหาร ที่กินเหลือ กินไม่หมด ยิ่งใครที่เป็นพ่อครัว แม่ครัว หรือชอบทำอาหารทานเอง ขยะเปียก ในครัว เป็นอะไรที่ยุ่งยากจริงๆ เพราะวุ่นวายทั้งการเก็บกวาด กลิ่นหมักหมมเหม็นเน่า หากจัดเก็บทิ้งไม่ดี ถ้าหากช่วงไหนปล่อยทิ้งไว้ เพราะเหนื่อยจะเก็บกวาด หรือแค่ขอแว๊บไปพักสักเดี๋ยว แล้วค่อยมาเก็บทิ้ง เก็บล้าง … กลับมาอีกที มดเอย แมลงสาบเอย หนูเอย มาเดินขบวน เหมือนเป็นรันเวย์เสียอย่างนั้น เชื่อว่าขณะที่คุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่ กำลังนึกย้อนเหตุการณ์ และ ใช่! เคยเจอเหมือนกัน
เพราะเราเองก็เป็นอีกคนที่ชอบทำอาหารทานเอง บางครั้งก็มีสั่งซื้ออาหารสำเร็จมาทาน แต่ไม่ว่ารูปแบบไหน ก็หนีไม่พ้นขยะเศษอาหารอยู่ดี ช่วงเวลาที่น่าเบื่ออย่างหนึ่งสำหรับเรา คือ หลังกินทุกอย่างจนอิ่ม ต้องรีบเก็บขยะใส่ถุง ซ้อนแล้วซ้อนอีก เพื่อป้องกันกลิ่น การรั่วซึม ทำให้สิ้นเปลืองถุงขยะไปไม่น้อย และเหตุที่ต้องรีบจัดการขยะเศษอาหารทันที เพราะมดที่ห้องเยอะมากนั่นเอง และด้วยที่เราปลูกผักริมระเบียง ทำให้ทุกครั้งที่ต้องทิ้งเศษอาหารในแต่ละครั้ง นึกเสียดายทุกครั้งไป เพราะรู้ดีว่า เศษอาหารเหล่านี้ มีค่าในการนำไปทำปุ๋ยหมัก เป็นอาหารชั้นยอดให้กับผักริมระเบียงได้ แต่…การทําปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ในพื้นที่เล็กๆในห้องเช่า มันไม่ง่ายเลย เรียกได้ว่า ยากมาก!
วิธีทําปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร มีหลายวิธีด้วยกัน ทั้งการขุดหลุมฝังกลบ เพื่อให้เศษอาหารได้ทำการย่อยสลาย ช่วยบำรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารให้ต้นไม้ หรือการทำถังหมักเศษอาหาร ให้เป็นปุ๋ย และน้ำหมัก ซึ่งตัวน้ำหมักเศษอาหารนี่แหล่ะ นำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างเลยทีเดียว ทั้งด้านการเกษตร และด้านทำความสะอาด อ่านแล้วน่าสนใจ จึงศึกษาดูการทำถังหมักเศษอาหารในบ้าน รวมไปถึงวิธีการทําปุ๋ยจากเศษอาหารด้วยเครื่องหมักปุ๋ยอัติโนมัติ ซึ่งสรุปคร่าวๆแล้ว มีขั้นตอนดังนี้

การหมักเศษผัก และขยะสด ด้วยถังหมักเศษอาหารทําเอง
อุปกรณ์และวัตถุดิบที่ต้องใช้ : ถังพลาสติก (สำหรับทำถังหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร) ถุงปุ๋ยหรือถุงตาข่าย น้ำตาลทราย น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล หัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำสะอาด ขยะเศษอาหารในบ้าน
ขั้นตอนการทําปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร : นำเศษผักผลไม้ และเศษอาหารต่างๆ คลุกเคล้ากับหัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล (กากน้ำตาลมีความข้น จึงใช้เวลากวนค่อนข้างนาน) กวนจนส่วนผสมเข้ากันดี ก็นำใส่ถุงปุ๋ย หรือถุงตาข่าย แล้วนำไปวางลงในถังพลาสติก และปิดฝาให้มิดชิด ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10-12 วัน จะมีน้ำจุลินทรีย์ซึมออกมา จากนั้นเติมน้ำลงไปอีกประมาณ 5 เท่า ของน้ำจุลินทรีย์ที่ได้ กดกากอาหารให้จมน้ำ เพราะถ้าปล่อยให้กากลอย อาจทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และไม่ได้น้ำหมักที่มีคุณภาพ โดยน้ำหมักจากเศษอาหารที่ได้ จะมีสีน้ำตาล กลิ่นหวานอมเปรี้ยว ก่อนจะนำไปใช้งาน ต้องผสมน้ำก่อน 1ชต. / 5 ลิตร ถึงจะนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ ส่วนกากก็นำไปตากแห้ง สำหรับทำเป็นปุ๋ยโรยต้นไม้ แต่ข้อควรระวังก็มี ถ้าน้ำหมักยังหมักไม่ได้ที่ น้ำตาลที่หมักจะยังเป็นกรดอยู่ ซึ่งเป็นพิษต่อพืช

การขุดหลุมหมักเศษอาหาร : ขุดหลุมชั้นแรก ให้กว้างกว่าก้นถัง ประมาณ 10 ซม. จากนั้นขุดหลุมชั้น 2 เล็กกว่าก้นถัง 5 ซม. ลึก 30 ซม. วางถังลงในหลุม แล้วกลบดินให้ดี ป้องกันแมลงและหนู แล้วนำเศษอาหารใส่ถัง ปิดฝาให้สนิท ใช้ดินรอบๆกลบหลุม ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-3 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่นำไปใช้ได้
แต่ทุกวิธีการทําปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่ว่าทั้งหมดนี้ ล้วนแต่ต้องใช้บริเวณ และพื้นที่สำหรับการหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร ซึ่งแน่นอนว่า ห้องเช่าเล็กๆอย่างเรานั้น ไม่สามารถทำได้ เรายังคงสืบเสาะหาข้อมูลต่อไป มีการรีวิวและจำหน่ายถังหมักปุ๋ยจากเศษอาหารง่ายๆ แบบ D.I.Y ที่เราไม่ต้องประดิษฐ์เอง และราคาก็ไม่แพงมากนัก ซึ่งเจ้าถังหมักปุ๋ยเศษอาหาร จะมีขนาดเล็กพอจะวางตรงระเบียงได้ เพราะมีขนาดพอๆกับกล่องเครื่องมือช่าง โดยข้างในจะมีท่ออากาศ ไว้สำหรับให้อากาศเข้ามาทำการย่อยเศษอาหาร และ Compost Starter การทำก็ไม่ได้ยากสำหรับเรานะ เพียงแค่เทเศษอาหารต่างๆลงถัง พร้อมตัวเร่งเชื้อ และน้ำตาลทราย คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝา ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน หรือ 1 เดือน ถึงจะนำมาใช้เป็นปุ๋ยได้ และระหว่างที่มันทำการย่อยนั้น จะมีทั้งเชื้อรา หนอน ภายในถังหมัก ซึ่งเขายึนยันว่า ไม่มีกลิ่นเหม็น แต่ก็ไม่เหมาะกับสภาพที่อยู่อาศัยของเราอยู่ดี แถมเรื่องกลิ่นและความสะอาด ต้องระวังเป็นพิเศษ สำหรับห้องเช่า หรือ คอนโดในแหล่งชุมชน ถ้าไม่อยากมีปัญหากับเพื่อนบ้าน และโดนเพ่งเล็งจากนิติบุคคล
ไม่ละความพยายาม ยังคงหาข้อมูล เพื่อหาตัวช่วยที่ดี และเหมาะสมกับห้องที่มีพื้นจำกัด และอยู่ในเมือง ที่รายล้อมไปด้วยเพื่อนบ้าน ร่วมคอนโดเดียวร้อยกว่าชีวิต มันต้องมีหนทาง ให้เราได้ทำปุ๋ยหมักเศษอาหาร ที่ง่ายและสะดวก ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ ในที่สุดก็พบ เครื่องหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร ที่เขาเคลมว่า เป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่ช่วยกำจัดเศษอาหาร และเปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นปุ๋ย ที่มีธาตุอาหารสำหรับพืชครบถ้วน ภายใน 24 ชม.โดยไม่ต้องเสียเวลารอนานเป็นเดือนๆ ยิ่งไปกว่านั้น ความกระทัดรัดของมัน ที่จะวางมุมไหนของห้องก็ได้ เคลื่อนย้ายก็สะดวกสุดๆ ด้วยน้ำหนักเพียง 18 กิโลกรัม ผู้หญิงตัวเล็กๆอย่างเรา เคลื่อนย้ายเองได้สบายๆ

รู้จักเครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้ากันก่อน
แค่เริ่มต้นก็ทำให้เราสนใจมากๆ จึงเข้าไปทำการศึกษารายละเอียด ของเจ้าเครื่องหมักปุ๋ยอัตโนมัตินี้ แม้ว่ามันจะมีขนาดไม่ใหญ่ ที่แม้แต่ห้องเช่าเล็กๆ สามารถติดตั้งได้ แต่ประสิทธิภาพของมัน เรียกได้ว่า เกินตัวไปกว่ามากๆ เพราะมันสามารถรองรับเศษอาหารได้ถึง 2 กิโลกรัม / วัน ฟังแค่นี้ดูเหมือนจะน้อย แต่ถ้าปล่อยให้มันทำงานไปเรื่อยๆ มันจะย่อยเศษอาหารที่เติมลงไป ให้หายไปได้ถึง 90% เลยทีเดียว และถึงแม้จะไม่มีการตักปุ๋ย ที่กลายสภาพมาจากเศษอาหารภายในเครื่องมาใช้เลย กว่าเครื่องจะเต็ม ก็ใช้เวลาประมาณกว่า 30 วัน หรืออาจมากกว่า ขึ้นอยู่กับปริมาณขยะเศษอาหารที่เติมลงไปในแต่ละวัน ซึ่งต่อให้มีสมาชิกในบ้าน 4 – 8 คน เครื่องนี้ก็รับมือไหว
เครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้าใช้งานยากไหม?
เมื่อจะใช้งานเครื่องทำปุ๋ยจากเศษอาหารไฟฟ้าในครั้งแรกเลย จะต้องเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ที่มีมาให้พร้อมกับตัวเครื่อง เติมเพียงครั้งเดียว จุลินทรีย์ก็จะมีการเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ด้วยตัวของมันเอง จากการย่อยเศษอาหาร และจะเป็นแบบนี้หมุนเวียนเป็นวงจรไปเรื่อยๆ ทำให้ไม่ต้องคอยเติมเชื้อจุลินทรีย์บ่อยๆ ประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนการใช้งานง่ายมาก ถึงมากที่สุด เพียงแค่แยกน้ำและของแข็งออก เช่น กระดูกสัตว์ โครงไก่ เปลือกหอย เปลือกผลไม้แข็งๆ อย่าง เปลือกมังคุด เปลือกทุเรียน ซังข้าวโพด ฯลฯ จากนั้นจึงเทเศษอาหารลงเครื่อง แล้วกดปุ่มให้เครื่องทำงาน … เพียงเท่านี้เลย แล้วเราก็ไปทำกิจกรรมอื่นต่อ ไม่ต้องเฝ้า ไม่ต้องเติม ไม่ต้องพลิกกองใดๆ ให้วุ่นวาย เด็กๆก็ทำเองได้ และอาจช่วยปลูกฝังให้เด็กๆ รู้จักรับผิดชอบทิ้งขยะด้วยตัวเอง หลังมื้ออาหาร เพราะอาจดูน่าสนุก และสร้างความตื่นเต้น ที่ได้มีส่วนร่วมในการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร และสร้างกิจกรรมให้เขาเรียนรู้ต่อ ด้วยการให้เขานำปุ๋ยที่ได้จากฝีมือตัวเอง (เทเศษอาหารลงเครื่องเอง) ไปบำรุงหรือปลูกต้นไม้ และเขาจะรู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานตัวเอง

นอกจากจะใช้งานง่าย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ยังหมดกังวลเรื่องแมลง มด หนู ต่างๆ มากวนใจ เพราะเมื่อจบมื้ออาหาร หลังจากแยกน้ำ แยกของแข็งต่างๆออก ก็เทเศษอาหารที่เหลือลงเครื่องได้ทันที ไร้เศษอาหารและกลิ่นรบกวน สามารถเททิ้งลงเครื่องได้ตลอด เพราะเครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้า ถูกสร้างขึ้นมาจากการเลียนแบบ ระบบการย่อยในกระเพาะอาหารของมนุษย์ ไม่ว่าเราจะกินอาหารเมื่อไร กระเพาะก็พร้อมทำงานตลอดเวลา เจ้าเครื่องนี้ก็เช่นกัน ระบบของเครื่อง และเจ้าจุลินทรีย์ที่อยู่ภายใน พร้อมทำงานทุกเมื่อ เพียงแค่เสียบปลั๊กทิ้งไว้เหมือนตู้เย็นเท่านั้นเอง
ทำปุ๋ยจากเศษอาหารด้วยเครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้าเปลืองไฟไหม?
เครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้า นอกจากจะต้องเสียบปลั๊กตลอดเวลาเหมือนตู้เย็น ยังมีระบบการทำงานของเครื่อง ด้วยมอเตอร์รอบหมุนต่ำ ทำให้มีอัตราการใช้ไฟคงที่ ไม่เปลืองไฟ การเสียบปลั๊กไฟไว้ตลอดนี้ เป็นการรักษาอุณหภูมิ ให้มีความเหมาะสมต่อจุลินทรีย์ภายในเครื่อง ไม่ให้มันตาย ไม่ให้เกิดเชื้อรา ให้เครื่องสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง โดยไม่ต้องคอยเติมหัวเชื้อ จะเทเศษอาหารทำปุ๋ยเมื่อไรก็ได้ ไม่จำกัดรอบ ไม่จำกัดเวลา
และถึงแม้จะเสียบเครื่องไม่เคยถอดปลั๊กเลย แถมมีการใช้งานแทบทั้งวัน แต่กลับจ่ายค่าไฟ 1xx กว่าบาทเท่านั้น!

วัสดุสิ้นเปลืองที่ต้องจ่าย?
จากที่เราหาวิธีมาสารพัด รวมถึงวิธีแบบถังหมักเศษอาหาร ไม่ว่าจะเป็นถังทําปุ๋ยหมักจากเศษอาหารด้วยตัวเอง หรือกล่องหมักเศษอาหารสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายทั่วไป วัสดุสิ้นเปลืองที่เราต้องจ่าย คือ น้ำตาลทราย และหัวเชื้อ ถ้าลองคำนวณดูแล้ว นับว่าไม่น้อยเลยนะ เพราะต้องใช้น้ำตาลทรายแดงคลุกเคล้าเศษอาหารแทบทุกรอบ หัวเชื้อเร่งก็ต้องเติมบ่อย แล้วน้ำตาลทรายแดงก็ราคาขึ้น-ลง บางช่วงราคาน้ำตาลขึ้นสูงมาก ซึ่งมันคงไม่คุ้มเท่าไรนัก กับค่าใช้จ่ายจุกจิก ที่ถ้ารวมๆกันแล้ว อาจจะจ่ายแพงกว่าที่คิด ในขณะที่การหมักปุ๋ยจากเศษอาหารด้วยเครื่องหมักไฟฟ้า มีเพียงการเปลี่ยนหลอด UVC (สำหรับฆ่าเชื้อ และกำจัดกลิ่น) ปีละครั้ง โดยราคาจะมีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพันนิดๆ ซึ่งอยู่ในเรทที่จ่ายไหว เพราะปีหนึ่งเปลี่ยนแค่ครั้งเดียวเท่านั้น ขนาดแอร์ยังต้องทำความสะอาดทุกๆ 6 เดือนเลย หรือเครื่องไฟฟ้าชนิดอื่นที่ต้องคอยเปลี่ยนฟิลเตอร์ทุกๆ 3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง ตกเดือนหนึ่งราวๆ 3-4 พันบาท ถ้าเทียบกันแล้ว พูดได้ว่า เครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้า คุ้มกว่ามาก!

หมักเศษอาหารทำปุ๋ยด้วยเครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้าจะมีกลิ่นและเชื้อโรคไหม?
อีกข้อสงสัยที่เราตั้งคำถามกับตัวเอง เพราะเคยสัมผัสกับกลิ่นจากการหมักปุ๋ยมาแล้ว บอกได้เลยว่า ไม่ไหวจริงๆ ยิ่งถ้าพักอาศัยในแหล่งชุมชน หรือในตัวเมืองอย่างเรา คงไม่เหมาะแน่ๆ แต่เจ้าเครื่องทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารระบบไฟฟ้า มีการนำเทคโนโลยี ระหว่างระบบ รังสี UVC , Metal Oxidation และ Ozone มาใช้ร่วมกัน ซึ่งระบบ UVC จะช่วยฆ่าเชื้อโรคแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และ ยีสต์ โดยการเข้าไปทำลายโครงสร้าง ไปจนถึงองค์ประกอบ DNA ให้เชื้อโรคทั้งหลายตายสนิท และดับกลิ่นเหม็นเน่า จากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ เป็นเพียงกลิ่นดินปุ๋ยทั่วไปเท่านั้น ซึ่งคนที่ปลูกต้นไม้ทั่วไป ย่อมจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว
ส่วนเรื่องความสะอาด เชื้อราเอย หนอนเอย ในถังหมักปุ๋ยแบบเดิมๆ หรือแม้แต่น้ำหมัก ที่จะเลอะเทอะเปรอะเปื้อน หมดกังวลไปได้เลย เพราะปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่ได้จากเครื่องหมักไฟฟ้า สะอาด ไร้เชื้อโรค ไร้กลิ่นเหม็นเน่า จนสามารถจับได้ด้วยมือเปล่า แทบจะไม่น่าเชื่อเลยว่า มันคืออดีตขยะเปียกที่สกปรกมาก่อน เนื่องจากเครื่องหมัก ทำงานด้วยระบบ Aerobic Compostin คือ การที่จุลินทรีย์ใช้ออกซิเจน สำหรับทำการย่อยเศษอาหาร และสารอินทรีย์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 1 – 2 วัน ทำให้ได้ปุ๋ยออแกนิกที่สะอาด ปราศจากเชื้อโรค และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ตลอดกระบวนการหมักเศษอาหารด้วยเจ้าเครื่องนี้ ไร้การปล่อย”ก๊าซมีเทน” ตัวการร้าย ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก สาเหตุที่ทำให้โลกร้อนนั่นเอง
ประโยชน์ปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่ได้ ล้วนครบถ้วนค่า NPK ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับดินและพืชทุกชนิด ให้พืชผักเจริญเติบโต และงอกงาม เป็นผักออแกนิก 100% ปลอดเชื้อโรค ไร้สารเคมี ทานได้อย่างสบายใจ ได้สุขภาพดีเต็มๆ เชื่อว่าเจ้าเครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้า ต้องถูกใจสมาชิกทุกคนภายในบ้านแน่ๆ ไม่ว่าจะเป็นแม่บ้าน ที่ไม่ต้องวุ่นวาย กับการจัดการเหล่าเศษอาหารทั้งหลาย ในขณะที่คุณพ่อบ้านก็จะได้ปุ๋ยคุณภาพดีและฟรี จากในครัวบ้านตัวเอง ประหยัดไปได้เยอะทีเดียว เพราะเดี๋ยวนี้ ปุ๋ยอินทรีย์เริ่มจะมีราคาสูงขึ้น ยิ่งปุ๋ยออแกนิกมากเท่าไร ก็ยิ่งแพงขึ้น เพราะการทําปุ๋ยหมักเศษอาหารต้องใช้เวลานานมาก การที่มีเครื่องหมักระบบ Composter จะช่วยย่นระยะเวลา ให้สามารถใช้ปุ๋ยได้เร็วขึ้นมากกว่าวิธีหมักปุ๋ยแบบเดิมหลายเท่า
แม้การลงทุนในการซื้อเครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้านี้สูงในครั้งแรก แต่หลังจากนั้น จะประหยัดค่าใช้จ่าย สำหรับวัสดุสิ้นเปลือง อย่าง ถุงหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร (ที่มีวันชำรุดและขาด) น้ำตาลทราย (ที่ต้องคอยเติมทุกครั้งที่ทิ้งเศษอาหาร) หัวเชื้อตัวเร่ง (แต่จุลินทรีย์ในเครื่องหมักไฟฟ้าจะเพิ่มจำนวนขึ้นเอง ไม่ต้องเติมบ่อย) ไร้แมลงและสัตว์ต่างๆ ไม่ต้องเสี่ยงเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ไร้กลิ่น ไร้กังวลเรื่องปัญหากับเพื่อนบ้าน

ประโยชน์ของการหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร ด้วยเครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้า
ลองมาดูข้อดีของการนำเศษอาหารทำปุ๋ย ด้วยเครื่อง Composter แบบแยกกันเป็นข้อๆ กันเลยดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง
- ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ลดขั้นตอนวุ่นวาย
- ไร้กลิ่นขยะเหม็นเน่ารบกวน
- ไร้มด แมลง หนู และสัตว์คุ้ยเขี่ยอาหาร
- ลดปริมาณขยะเศษอาหารไปได้มากกว่า 90%
- ลดการปล่อยก๊าซมีเทน ลดโลกร้อน
- ลดการใช้ถุงขยะ ลดค่าใช้จ่าย
- ลดค่าจ้างคนขนขยะ
- ลดระยะเวลาการหมักปุ๋ย
- ได้ปุ๋ยออแกนิก 100% ฟรี
- สุขภาพดีจากการทานผักปลอดสารเคมี
- ประหยัดงบประมาณการกำจัดขยะของประเทศ
- ได้ใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เป็นการรีไซเคิลอย่างแท้จริง
- ส่งเสริมระบบ Zero Waste
- ขยะอื่นๆ สะอาด คัดแยกนำไปรีไซเคิลง่ายขึ้น
- ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
และถ้าหากเราพร้อมใจกัน ทําปุ๋ยจากเศษอาหารในครัวเรือนทุกหลัง นอกจากเราจะได้ปุ๋ยดีๆ โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีอีกต่อไป ส่งผลต่อสุขภาพดีแล้ว ยังเป็นการสอดคล้องรับกับโครงการลดขยะอาหาร ลดโลกร้อน ที่มีการรณรงค์ทั่วโลกอยู่ตอนนี้อีกด้วย เนื่องจากปัญหาขยะล้นโลก จนกระทบต่อระบบนิเวศน์ และส่งผลต่อสภาวะเรือนกระจก “ขยะเศษอาหาร” ที่เรากินเหลือและทิ้งกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นอีกตัวแปรสำคัญ ที่เราทุกคนควรหันมาใส่ใจ และต้องช่วยกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน อย่ามัวแต่รอให้ระบบของประเทศแก้ปัญหา เพราะปลายเหตุของปัญหา เกิดมาจากพฤติกรรมการกินการใช้ของพวกเราทุกคน จึงต้องแก้ที่ต้นเหตุ ด้วยการปรับเปลี่ยนลักษณะการกิน การใช้ โดยกินให้พอดี ใช้แต่พอควร ซื้อแต่พอเหมาะ และยึดหลัก 3R ซึ่งได้แก่

- Reduce: ลดการใช้ บริโภคและใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น
- Reuse: นำกลับมาใช้ซ้ำ เช่น การซ่อมแซม : ลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง , การบริจาค : หมุนเวียนการใช้ทรัพยากร
- Recycle: นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้ใช้ทรัยากรให้คุ้มค่าที่สุด เช่น การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร
จากการหาข้อมูล เพื่อจะทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในบ้าน เมื่อเปรียบเทียบทุกวิธีกันแล้ว เห็นได้ชัดว่า เครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้า ตอบโจทย์ความต้องการ และไลฟ์สไตล์กับเรามากที่สุด เพราะนอกจากการใช้งานจะง่าย สะดวก และไม่ยุ่งยากแล้ว หมดกังวลทุกเรื่องที่เราเคยมี ทั้งเรื่องการเสียเวลากับขั้นตอนที่มากมาย ระยะเวลากว่าจะได้ใช้ปุ๋ย เรื่องกลิ่น ความสะอาด รวมไปถึงพื้นที่อันน้อยนิดในการติดตั้ง ทุกอย่างง่ายขึ้นมาก สะดวกสุดๆ จึงเชื่อว่า เครื่องทำปุ๋ยหมักระบบไฟฟ้านี้ น่าจะเป็นผู้ช่วยที่ดี ที่จะมาตอบโจทย์ให้กับทุกบ้าน และช่วยให้เราได้มีส่วนร่วมกันแก้ปัญหาปริมาณขยะ ด้วยการเริ่มจาก การลดขยะเศษอาหารที่บ้านเราเอง และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นการรักษาระบบนิเวศน์ให้ดีขึ้น ซึ่งนั่นจะเท่ากับว่า ไม่ใช่แค่เพียงคุณภาพชีวิตเราทุกคนจะดีขึ้นเท่านั้น แต่เรายังช่วยรักษาโลกใบนี้ให้ดีได้ และสามารถเป็นไปได้อย่างยั่งยืน หากโลกใบนี้ถูกทำร้ายน้อยลง
ถ้าหากคุณสนใจเรื่องไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน เรามีบล็อกคอยเป็นเพื่อนคุณเสมอ